🔴 กสอ. โชว์ศักยภาพ CIV หนุนท่องเที่ยว “ชุมชนเกาะพิทักษ์” และ “ชุมชนหาดส้มแป้น” ชุมชนแดนใต้เดินด้วยออนไลน์-การตลาด

 

 

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เร่งปักหมุด 215 ชุมชนสู่แลนด์มาร์คใหม่ “หมู่บ้านซีไอวี” แนะ 7 เทรนด์ท่องเที่ยวชุมชน บูมกระแสเมืองรองต้องเดินด้วยออนไลน์-การตลาด โชว์ศักยภาพ “ชุมชนเกาะพิทักษ์” และ “ชุมชนหาดส้มแป้น” 2 ชุมชนแดนใต้กับจุดเช็คอินใหม่ที่น่าสนใจ
 
  เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เร่งพัฒนาโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ CIV ของปี 2562 เตรียมปั้นแหล่งท่องเที่ยวเมืองรองใหม่จำนวน 215 ชุมชน ในพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ แนะเทรนด์การท่องเที่ยวชุมชนที่สำคัญในปีนี้อยู่ใน 7 รูปแบบ ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม การท่องเที่ยวทางน้ำการท่องเที่ยวแบบวิถีชาวบ้าน การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงกีฬา การท่องเที่ยวเชิงอาหาร และการท่องเที่ยวแบบมีกิจกรรมหรือผจญภัย โดยยังคาดว่าสังคมออนไลน์และระบบดิจิทัลจะมีอิทธิพลอย่างสูง เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการค้นคว้าข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และต้องการความคุ้มค่าจากสิ่งที่จะได้รับ สำหรับแผนในการพัฒนาโครงการหมู่บ้าน CIV ของปีนี้ กสอ. จะมุ่งดำเนินโครงการและกิจกรรมที่เข้มข้นทั้งการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ การพัฒนาแอปพลิเคชั่น การพัฒนาการตลาดให้มีประสิทธิภาพด้วยเครื่องมือต่างๆ อาทิ  ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC) โครงการไทยเด่น การฝึกอบรมเชิงลึกในด้านการทำตลาดเพื่อเจาะกลุ่มกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะบุคคล ซึ่งจะช่วยลดการกระจุกตัว พร้อมผลักดันให้เมืองรองในแต่ละภูมิภาคเติบโตขึ้นเป็นเมืองท่องเที่ยวหลักในอนาคต
 
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า “ในปี 2562 กสอ. ยังคงมุ่งดำเนินโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ CIV ด้วยแผนงานและกิจกรรมต่างๆ อย่างเข้มข้น ซึ่งในปีนี้จะผลักดันให้หมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาแล้วก้าวสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งผลิตสินค้า และบริการที่เป็นที่นิยม เพื่อให้เศรษฐกิจฐานรากและชุมชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถไต่ระดับไปสู่ SMEs ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรรค์ มีการเพิ่มผลิตภาพ การพัฒนามาตรฐานต่างๆ การรวมกลุ่มหรือคลัสเตอร์ พร้อมด้วยการผสมผสานกิจกรรมที่จะช่วยให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิรูปแบบใหม่ๆ ให้กับประเทศไทย สอดคล้องกับการเป็นจุดหมายปลายทางทางการท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อระดับโลก 
 
 
สำหรับเทรนด์การท่องเที่ยวชุมชนที่สำคัญในปีนี้ คาดว่าจะอยู่ใน 7 รูปแบบ ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม การท่องเที่ยวทางน้ำ การท่องเที่ยวแบบวิถีชาวบ้าน การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงกีฬา การท่องเที่ยวเชิงอาหาร และการท่องเที่ยวแบบมีกิจกรรมหรือผจญภัย ซึ่งยังคาดว่าสังคมออนไลน์และระบบดิจิทัลจะมีอิทธิพลอย่างสูง เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการค้นคว้าข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และต้องการความคุ้มค่าจากสิ่งที่จะได้รับ เช่น แพ็กเกจการท่องเที่ยว การใช้จ่ายด้านค่าอาหาร – เครื่องดื่ม สินค้าที่ระลึก ฯลฯ 
 
 
ทั้งนี้ จากความสำคัญดังกล่าวจึงต้องสร้างทั้งความเข้าใจ และสร้างช่องทางดังกล่าวเพื่อให้ผู้ให้หรือผู้ใช้บริการได้รับประสิทธิภาพระหว่างกัน โดยเฉพาะการให้ข้อมูลในลักษณะอธิบายความรวมถึงการรีวิวและเพื่อให้สอดรับกับกระแสดังกล่าวที่กำลังเกิดขึ้น กสอ. จึงได้สร้างแพลตฟอร์มเชื่อมโยงผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และนักท่องเที่ยว ผ่านเว็บไซต์ www.thaiciv.com ซึ่งช่องทางดังกล่าวจะเป็นตัวช่วยในการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับบริการทางการท่องเที่ยวของหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในทุกภูมิภาค อาทิ สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยม เทศกาลและกิจกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน นอกจากนี้ กสอ. ได้จัดทำแอปพลิเคชั่น ชื่อว่า “Application CIV like” โดยนำเสนอเรื่องราวท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ชุมชน แผนที่แหล่งท่องเที่ยว รวมถึงที่พักโฮมสเตย์ให้ผู้สนใจได้ดูข้อมูลก่อนเดินทาง ซึ่งช่วยสร้างโอกาส ทางการตลาด สร้างระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัย สามารถดึงดูดผู้เข้าเยี่ยมชมหมู่บ้าน และก่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างยั่งยืนในท้องถิ่น ซึ่งสามารถแสดงผลบนสมาร์ทโฟนทั้งในระบบปฏิบัติการ IOS และ Android อันเป็นช่องทางที่เข้าถึงผู้ใช้งานได้สะดวก โดยนำร่องหมู่บ้าน CIV จำนวน 27 หมู่บ้าน จาก 215 หมู่บ้านทั่วประเทศ ที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจาก กสอ. อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ แอปพลิเคชั่นดังกล่าวจะเป็นช่องทางในการสร้างประโยชน์ให้ชุมชนหมู่บ้าน CIV อย่างแท้จริง และสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อรองรับการเติบโตของหมู่บ้าน CIV ในระยะยาวอีกด้วยได้

 
นายกอบชัย กล่าวต่อว่า นอกเหนือจากการพัฒนาด้านสังคมออนไลน์และระบบดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพสำหรับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์แล้ว ในปีนี้ กสอ. ยังมีแผนที่จะพัฒนาด้านการตลาด ด้วยการเปลี่ยนมุมมองให้นักท่องเที่ยวและผู้บริโภคเห็นว่าการท่องเที่ยวชุมชนนั้นให้ทั้งประสบการณ์และคุณค่าที่หาได้ยาก ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวที่เน้นการนำเสนอเรื่องราวและอัตลักษณ์อันโดดเด่นของแต่ละชุมชน แพ็กเกจต่างๆ ที่มึความหลากหลาย การนำเสนอภาพลักษณ์ของแต่ละภูมิภาคให้ชัดเจน เช่น ภาคอีสานที่ขึ้นชื่อด้านประเพณีและกิจกรรมอันรื่นเริง ภาคกลางกับการท่องเที่ยวเชิงศิลปะสร้างสรรค์ ภาคเหนือกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความยั่งยืน ภาคใต้กับความโดดเด่นของธรรมชาติและท้องทะเล นอกจากนี้ ยังจะฝึกอบรมเชิงลึกในด้านการทำตลาดเพื่อเจาะกลุ่มกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะบุคคล อาทิ กลุ่มผู้สูงอายุ LGBTQ กลุ่มมิลเลนเนียล กลุ่มชาวต่างชาติ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยการลดการกระจุกตัว และกระจายรายได้ไปสู่แต่ละท้องถิ่น พร้อมผลักดันให้เมืองรองในแต่ละภูมิภาค เติบโตขึ้นเป็นเมืองท่องเที่ยวหลักในอนาคต 
 
จากการเติบโตและความนิยมของการท่องเที่ยวเมืองรองที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กสอ. จึงมีแผนในการพัฒนาโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของปี 2562 เพื่อให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้ได้จำนวน 215 ชุมชน ในพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยในปีที่ผ่านมาได้พัฒนาไปแล้ว 27 ชุมชน และบางชุมชนก็ได้กระแสตอบรับจากผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวอย่างดีเยี่ยม อาทิ หมู่บ้านคีรีวงศ์ อ.คีรีวงศ์ จ.นครศรีธรรมราช ชุมชนน้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง จ.น่าน ชุมชนออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างกำลังพัฒนาอีก 80 ชุมชน ด้วยเครื่องมือและโครงการที่สำคัญต่างๆ เช่น ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC) ที่จะเน้นเครื่องมือที่ทันสมัยเข้ามาช่วยทั้งการดีไซน์ การค้าขายผ่านออนไลน์ โครงการไทยเด่น โครงการยกระดับอุตสาหกรรมชุมชนเชื่อมโยงการท่องเที่ยว CIV 4.0 โครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทยโดยเน้นที่ SMEs เกษตร นอกจากนี้ ยังมีโครงการบิ๊กบราเธอร์ (Big Brother) หรือพี่ใหญ่ช่วยน้องที่ กสอ. ได้ประสานกับบริษัทชั้นนำที่มีศักยภาพเข้ามาส่งเสริมชุมชนให้เข้มแข็ง เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย เอไอเอส และโตโยต้าซึ่งชุมชนจะได้เรียนรู้แนวทางแห่งความสำเร็จพร้อมนำไปปรับใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างมีคุณภาพ” นายกอบชัย กล่าวทิ้งท้าย
  
 เมื่อเร็วๆ นี้ กสอ. ยังได้จัดกิจกรรมเยี่ยมชมพื้นที่ “ชุมชนเกาะพิทักษ์” ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร และ “ชุมชนหาดส้มแป้น” ต.หาดส้มแป้น อ.เมืองระนอง จ.ระนอง ซึ่งเป็นหมู่บ้านตัวอย่างที่เพิ่มศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ สินค้า และบริการในหมู่บ้านจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย สำหรับ “ชุมชนบ้านเกาะพิทักษ์” นั้นมีสโลแกนว่า “ถนนน้ำข้ามสมุทร น้ำจืดผุดกลางเกาะ หอยเจาะ ทะเลขาด หาดสองน้ำ” บ้านเกาะพิทักษ์เป็นหมู่บ้านที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นน้ำทะเลล้อมรอบเกาะ น้ำใสสะอาดลักษณะบ้านของชาวบ้านเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวยกสูงตั้งริมทะเลมีชานบ้านกว้างขวางยื่นออกไปในทะเล พร้อมมีกลุ่มโฮมสเตย์ 23 หลังให้เลือกพัก ภูมิประเทศด้านทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของชุมชนจรดไปถึงทิศใต้ เนื่องจากภูเขาด้านตะวันออกช่วยบังลมพายุได้ดี นักท่องเที่ยวสามารถเล่นน้ำชายหาดทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นหาดที่มีบรรยากาศเงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อน ชายหาดยาวประมาณ 400-450 เมตร น้ำใสสะอาด ทางทิศเหนือของเกาะมีจุดชมวิวสูงประมาณ 200 เมตร มีศาลาให้พักชมวิวทิวทัศน์ และที่น่าสนใจของหมู่บ้านแห่งนี้คือ ในรอบ 1 ปี ช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี น้ำทะเลจะแห้งขอดสามารถเดินไปถึงเกาะพิทักษ์โดยไม่ต้องใช้พาหนะในการเดินทาง ที่นี่มีการเรียนรู้วิถีชีวิตชาวประมงการ ทำเครื่องมือจับสัตว์น้ำ ตกปลาไดร์หมึก นอกจากนี้ยังมีความโดดเด่นด้วยผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อจากชุมชนไม่ว่าจะเป็นสินค้าแปรรูป ปลาอินทรีย์ฝังทราย การทำกะปิ และการทำผ้ามัดย้อมธรรมชาติจากวัสดุในท้องถิ่น สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผู้ใหญ่อำพล ธานีครุฑ (ผู้ใหญ่หรั่ง) 081-0931443
  
   
 
ด้าน “ชุมชนหาดส้มแป้น” ต.หาดส้มแป้น อ.เมืองระนอง จ.ระนอง นั้นจะมีสโลแกนว่า “หาดไร้เงา ขุนเขานมสาว ดินขาวมากมาย พ่อท่านคล้ายศักดิ์สิทธิ์ แดนเนรมิตระนองแคนย่อน” ชุมชนบ้านหาดส้มแป้น ตั้งอยู่บนที่ราบหุบเขา มีทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศร่มรื่น โอบล้อมด้วยภูเขาทั้ง 4 ด้าน มีพื้นที่เป็นภูเขาประมาณ 36,009 ไร่ และเป็นที่ราบหุบเขาประมาณ 12,000 ไร่ ห่างจากตัวเมืองระนองประมาณ 7 กิโลเมตร ชุมชนบ้านหาดส้มแป้น มีทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ได้แก่หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งคา หมู่ที่ 2 บ้านบางสังตี และหมู่ที่ 3 บ้านหาดส้มแป้น มีวัฒนธรรมและทรัพยากรที่ทรงคุณค่าเป็นแหล่งแร่ที่สำคัญของจังหวัดระนองตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คือ แร่ดีบุก และ แร่ดินขาว เป็นลักษณะของเหมืองฉีด หรือเหมืองแล่น มีเพียงส่วนน้อยที่มีการทำแบบเหมืองหาบ และยังมีอุตสาหกรรมในระดับชุมชนที่แทบจะไม่มีให้เห็นในประเทศไทยแล้ว คือ การร่อนแร่ ของชาวบ้านและนำแร่ไปขายยังบ้านที่รับซื้อ นอกจากวิถีชีวิตของการร่อนแร่ที่มีชื่อเสียงของบ้านหาดส้มแป้นแล้ว ยังมีเรื่องของวัฒนธรรมการถ่ายทอดวิถีชีวิตผ่านการแสดงพื้นบ้านระบำร่อนแร่ และผลิตภัณฑ์เซรามิกบ้านหาดส้มแป้น นอกจากนี้บ้านหาดส้มแป้นยังมีทรัพยากรทั้งป่าไม้  ภูเขา น้ำตก และลำธารที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากวิถีชีวิตของการร่อนแร่ที่มีชื่อเสียงของบ้านหาดส้มแป้นแล้ว ยังมีความโดดเด่นด้วยผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อจากชุมชนไม่ว่าจะเป็นสินค้า เซรามิกจากดินขาว ที่มีคุณภาพอันดับ 1 ของเอเชีย ไข่เค็มน้ำแร่ดินขาว การทำสบู่น้ำแร่สมุนไพร การร่อนแร่ – ทำแร่ นั่งรถสองแถวไม้โบราณชมวิถีชุมชน และสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ บ้านพักโฮมสเตย์ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวสุรีย์พร สรรพกุล 080-0402425
 
เนื่องจากจังหวัดระนองจะมีชื่อเสียงในด้านแร่ดีบุกที่สำคัญแล้ว ยังมีบ่ออาบน้ำแรที่มีคุณภาพมากมายให้เลือกใช้บริการอีกด้วยรวมถึงบ่อน้ำแร่ของเอกชนที่น่าสนใจ อาธิ “ธาริน ระนอง ฮอทสปริง” (TARYN RANONG HOT SPRINGS) ซึ่ง ที่ธานินทร์ฮอทสปริงแอนด์สปาน้ำแร่ธรรมชาติเป็นบ่อน้ำแร่ที่เปิดใหม่ล่าสุดในจังหวัดระนอง เปิดให้บริการทั้งบ่อน้ำแร่รวมและบ่อน้ำแร่ส่วนตัว อุณหภูมิบ่อน้ำแร่เฉลี่ย 41 องศาเซลเซียส แร่ธาตุที่นำแร่ธารินฮอทสปริง ซิลิกา 51.6 mg/l มีส่วนช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวชะลอกระบวนการเกิดริ้วรอยและดูดซับความมันออกจากผิว โพแทสเซียม 4.1 mg/l ช่วยปรับสมดุลและเพิ่มปริมาณน้ำต่อผิว คาร์บอเนต 101.4 mg/l ช่วยทำให้ผิวมีสุขภาพดีปรับค่าสมดุล pH ซัลเฟอร์ 41.4 mg/l ช่วยลดสารที่เป็นพิษต่อผิว ฟลูออไรด์ 5.5 mg/l ปกป้องผิวด้วยคุณสมบัติแอนตี้ออกซิแดนท์ แคลเซียม 19.5 mg/l ลดอาการนอนไม่หลับช่วยให้จังหวะของหัวใจเต้นเป็นปกติ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามที่ fb : Taryn Hot Springs โทร. 077 826 726, 096 636 0596
 
สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2367 8339หรือ เข้าไปที่ www.dip.go.
www.indyreport.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *