🔴 New normal คืออะไร?

 

 

New normal คืออะไร? เข้าใจง่ายๆคือ การดำเนินชีวิตตามปกติแบบใหม่ หลังภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ Covid-19 ซึ่งต้องมีความเคร่งครัด ระมัดระวังให้มากกว่าชีวิตแบบเดิมๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการมีพฤติกรรมเสี่ยง (Risk Behavior) จากการติดเชื้อ (infection) และเป็นผู้แพร่เชื้อ (Speeder) ทุกเชื้อ ทุกกรณี รวมถึงเป็นแนวทางการปรับตัว ให้อยู่ได้อย่างมีความสุข นั่นเอง

1. ชีวิตแนวใหม่ต้องอยู่ห่างไกลเชื้อโรค และคำนึงถึงความปลอดภัยในการดำรงค์ชีวิตให้มากที่สุดทั้งการอุปโภค บริโภค พฤติกรรมในการปฏิบัติตามสุขลักษณะอย่างเคร่งครัดทั้งเชิงเดี่ยวและเชิงสังคม บุคคลจำต้องนำความรู้และนวัตกรรมทางด้านชีววิทยาหรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่นๆ มาช่วยในการดำรงค์ชีวิต ผู้ประกอบการก็ต้องนำเอาเรื่องวิทยาศาสตรชีวภาพ มาพัฒนาการผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ เช่น การเกษตร อาหาร สุขภาพ การแพทย์ และพลังงาน ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ประเทศไทยมีต้นทุนทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพสูง จึงนับเป็นจุดแข็งในด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพได้เป็นอย่างดี ผมขอเรียกแนวปฏิบัตินี้ว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบชีวภาพ หรือ Bio-living

2. พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มุ่งเน้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดใให้ได้มากที่สุด โดยการลดของเสียและการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ ก่อให้เกิดวงรอบของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้ได้มากที่สุด ทั้ง re-used และ recycle ผมขอเรียกแนวปฏิบัตินี้ว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตในระบบหมุนเวียน หรือ Circular Living

3. แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของโลก หลังยุค Covid-19 ที่คำนึงถึงความสำคัญของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่น ๆ เพื่อสร้างให้เกิด “การเติบโตสีเขียว” ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ มีการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมและรู้คุณค่า ลดการใช้พลังงาน ลดความเสี่ยงที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย และตอบสนองการพัฒนาที่ยั่งยืน ผมขอเรียกแนวปฏิบัตินี้ว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตในระบบหมุนเวียน หรือ Green Living

4. พฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบใหม่ในการใช้ประโยชน์จากทรัพยกร ที่ผ่านกระบวนการจัดสรรทรัพยกรที่มีประสิทธิภาพ เช่น การเช่ารถ เช่าที่พัก เช่าอุปกรณ์ เช่าพื้นที่ทำงาน เมกเกอร์สเปซ delivery ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น โมเดลการใช้ชีวิตรูปแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร จะเปลี่ยนแปลงโลกของเราไปในทิศทางไหน แนวโน้มพฤติกรรมร่วมใช้ประโยชน์ในประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง ขึ้นอยู่กับการแบ่งปันจัดสรร และใช้สอยทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ ผมขอเรียกแนวปฏิบัตินี้ว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตในระบบสมประโยชน์ หรือ Sharing Living

5. พฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบเตรียมการรับมือกับวัยชรา ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว การมีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่าวัยแรงงานส่งผลทางบวกและทางลบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คนไทย ประเทศไทยต้องเตรียมรับมือในเรื่องต่างๆ มากมาย การอยู่ใกล้ธรรมชาติ การประหยัด มีหลักศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ เอื้ออาทร เป็นคลังสมองที่ทรงคุณค่า ไม่เป็นภาระของคนใกล้ชิด และสังคมส่วนรวม มุ่งเน้นการสร้างสุขภาวะแบบป้องกัน และส่งเสริม มากกว่าการรักษา เป็นแนวทางการปรับแนวคิดและพฤติกรรม ตลอดจนการเตรียมตัวของประเทศเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัย ผมขอเรียกพฤติกรรมตามแนวปฏิบัตินี้ว่า การใช้ชีวิตในสังคมสูงวัย หรือ Silver Living

6. พฤติกรรมการใช้ชีวิตร่วมกับ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ AI สื่อออนไลน์ การเรียนรู้ทางไกล ร่วมกับที่อยู่รอบตัวเราในปัจจุบัน และนวัตกรรมใหม่ๆที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของเราทั้งในปัจจจุบัน และในอนาคตอันใกล้ ส่งผลให้พฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันสะดวกสบายยิ่งขึ้น อาทิ ในภาคธุรกิจ AI มีบทบาทสำคัญในการทำการตลาดดิจิทัล ช่วยผู้ประกอบการวางแผนธุรกิจไปในทิศทางที่เหมาะสม และทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็วผมขอเรียกพฤติกรรมตามแนวปฏิบัตินี้ว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบอัจฉริยะ หรือ Intelligent Living

///ดร.รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล

 

📍www.indyreport.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *