😍 มองสังคมจากปรากฎการณ์

9-02-63

มองสังคมจากปรากฏการณ์
เมื่อเกิดเหตุการณ์ อันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมขึ้นย่อมเป็นที่กล่าวขาน โจษจันกันในวงสังคมอย่างกว้างขวางไม่ว่าดี หรือร้าย และอีกวาระหนึ่งที่ชื่อ Thailand ดังกระหึ่มไปทั่วโลก ไม่แพ้เหตการณ์หมูป่า อะคาเดมี่&ขุนน้ำนางนอน คือเหตุการณ์ จ่าทหารคลั่ง17 ชั่วโมงกว่า สังหารไปเกือบ 30 ศพ บาดเจ็บอีกกว่าครึ่งร้อย ที่โคราช
ทุกพฤติกรรม ย่อมมีเหตุผล มีต้นแบบ และมีแรงจูงใจ แน่นอน เหตุการณ์ใกล้เคียงกันคือเหตุการณ์ ผอ.บุกชิงทอง ยิงกราดไป 3 ศพ ที่ลพบุรี เกิดก่อนหน้าไม่กี่วัน จึงมองได้ว่าเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ (imitation behavior) พฤติกรรมยิงกราดชิงทองที่ลพบุรี เป็นเพียงตัวแบบสุดท้ายที่นำไปสู่การตัดสินใจเลือก ‘รูปแบบ’ ส่วนตัวแบบเริ่มต้น (early model) หรือตัวแบบสะสม(cumulative model) น่าจะมาจากเกมส์คอมพิวเตอร์ ประเภทบู๊บุกเดี่ยว เนื่องจากดูจากโปรไฟล์ ของจ่าสิบเอกแล้ว ได้มีการฝึกฝนเลียนแบบตัวละครในเกมส์มาโดยตลอด ตัวแบบดังกล่าวดูเผินๆ ไม่น่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ ขนาดนั้น แต่การซึมซับเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งสะสมเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ เป็นสายธารสำนึก (sub-conscious) เมื่อสะสมมากพอและไหลไปบรรจบกับตัวแบบสุดท้ายที่กระตุ้นธารสำนึกอย่างรุนแรง จึงเกิดพฤติกรรมเลียนแบบขึ้นอย่างที่เห็น ซึ่งอาจมีรูปแบบ และความรุนแรงต่างกันไปตามแต่ แรงจูงใจ (motivative) และเบื้องหลังความคับข้องใจ (frustrate) ของแต่ละคน ซึ่งรวมกันเข้าแล้ว มันคือการเรียนรู้ ที่จะสร้างความรุนแรงออกมานั่นเอง อัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandura) นักจิตวิทยาชาวแคนาดา ได้อธิบายไว้ว่า การเรียนรู้ส่วนใหญ่ของคนเกิดจากการสังเกตตัว แบบ (model) หรือการเลียนแบบ (imitation) จากตัวแบบซึ่งแตกต่างจากการเรียนรู้ จากประสบการณ์ตรง ที่ต้องอาศัยการลองผิดลองถูก เพราะเสียเวลาและอาจประสบอันตรายได้ การ เรียนรู้แบบนี้พบว่า ตัวแบบเพียงคนเดียวสามารถที่จะถ่ายทอดทั้งความคิดและการแสดงออกได้ พร้อมๆ กัน และการเรียนรู้ทางสังคมจากประสบการณ์ของผู้อื่นสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วผ่าน ทางสื่อต่างๆ ซึ่งจากการสังเกตทำให้ บุคคลได้เรียนรู้ได้ว่าพฤติกรรมนั้นได้รับผลกรรมอย่างไร ถ้าเห็นว่าผล กรรมที่ได้รับเป็นที่น่าพึงพอใจ บุคคลก็มีแนวโน้มที่จะลอกเลียนแบบพฤติกรรมนั้น จากงานวิจัย ของแบนดูรา พบว่า การให้รางวัลแก่ตัวแบบที่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมีผลทาให้บุคคลลอกเลียนแบบ พฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น

โดยได้แบ่งประเภทของตัวแบบออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.ตัวแบบที่เป็นบุคคลจริงๆ(live model)คือตัวแบบที่บุคคลได้มีโอกาสสังเกตและ ปฏิสัมพันธ์โดยตรง
2.ตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์(symbolic model)คือตัวแบบที่เสนอผ่านสื่อต่างๆเช่น วิทยุ โทรทัศน์ การ์ตูน หนังสือนวนิยาย หรือเกมส์คอมพิวเตอร์ที่บุคคลสามารถสวมบทบาทได้อย่างเสมือนจริง
กำเนิดของพฤติกรรม (Origins of Behavior) จากแนวคิดของอัลเบิร์ต แบนดูรา ในเรื่องการเรียนรู้ตัวแบบ (Learning through modeling) พบว่าพฤติกรรมของมนุษย์อาจเกิดจากการเลียนแบบในกระบวนการสังเกตต่างๆ กัน ซึ่ง กระบวนการสังเกต มีกระบวนการได้ 4 กระบวนการ คือ
1.กระบวนการความตั้งใจ(attentional process)
2.กระบวนการจดจา (retention process)
3.กระบวนการสร้างพฤติกรรมทางอวัยวะการเคลื่อนไหว (motor reproduction process)
4.กระบวนการจูงใจ(motivationalprocess)
สังคมไทยวันนี้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (learning society) บุคคลเรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรม สังคมต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมและป้องกันพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ ถ้าเพิกเฉยวันหน้าเราจะพบกับอะไรๆที่รุนแรงอีกมากมาย.

/รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล: ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน

 

🚩www.indyreport.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *