🔴 ดร.รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล สมาชิกวุฒิสภา ร่วมกับนายอำเภอ เกษตรอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกเยี่ยมเยือน มอบอาหารยังชีพให้ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด 19

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563โรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพตำบล และ อสม. ในจังหวัดร้อยเอ็ด ออกเยี่ยมเยียน มอบอาหารยังชีพ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรทุกฝ่าย และพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ Covid-19 โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นภาระดูแลของบุตรหลาน ที่บุตรหลานต้องตกงานจากภาวะวิกฤติดังกล่าว โดยไม่ใช้งบประมาณจากทางราชการ ทั้งหมด 20 อำเภอ จำวน 320 ชุด

ปฏิบัติการ 5 อำเภอ ดังนี้
1. อำเภอธวัชบุรี 15 ชุด
2. อำเภอเมืองร้อยเอ็ด 20 ชุด
3. อำเภอศรีสมเด็จ 13 ชุด
4. อำเภอจังหาร 15 ชุด
5. อำเภอเชียงขวัญ 13 ชุด

 

 

 

ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี กรณีอำเภอเชียงขวัญ พบผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นผู้ยากไร้ 2 ราย เป็นสามีภรรยากัน สามีตาบอด 1 ข้าง เป็นเบาหวานและโรคเก๊าท์ มีแผล ตามตัว ภรรยาเป็นเบาหวาน ความดัน และโรคไตระยะวิกฤติ ต้องฟอกไต แต่ยังทำไม่ได้เพราะบ้านที่อยู่อาศัยทรุดโทรมมาก สาธารณสุขอำเภอได้จัด จนท.สาธารณสุขอำเภอและ อสม.ดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ทั้งสองคนมีเพียงบุตรสาวบุญธรรมอายุ 14 ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นผู้ดูแลเพียงคนเดียว ซึ่งเปิดเทอมนี้จะเป็นภาระมากยิ่งขึ้น

 

 

โดย ดร.รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า  วันนี้มีปัญหาวิกฤติที่เป็นห่วงโซ่อันเป็นผลพวงมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ Covid-19 คือผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุยากไร้ ไร้ที่พึ่ง ปัญหาคือเมื่อก่อนลูกหลานทำงานในเมืองใหญ่ ใน กทม.ยังได้ส่งเงินมาให้เป็นค่าดูแล รักษาพยาบาล เพิ่มเติมจากส่วนที่ รัฐโดยกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมี รพ.สต.และ อสม.เป็นกลไกในการทำงาน ได้แก่ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายในบ้านเช่นค่าน้ำค่าไฟ ค่าผ้าอ้อมผู้ใหญ่ และอื่นๆ ที่จำเป็นในชีวิต

 

 

วันนี้ลูกหลานตกงานกันหมด ปัจจัยอุดหนุนขาดลงทันที ที่น่าเห็นใจที่สุดคือไม่มีผ้าอ้อม ซึ่งใช้เป็นจำนวนมากและมีราคาสูง บางรายต้องฟอกไต แต่ไปโรงพยาลไม่ได้ไม่มีรถ ไม่มีเงินค่าจ้างรถเพราะไปวันเว้นวัน บ้านก็ทรุดโทรมไม่สะอาด ฟอกไตที่บ้านไม่ได้ ทั้งที่ สาธารณสุขมีน้ำยาให้วันนี้ผมพบ 1 ราย ได้หารือกับนายอำเภอทางนายอำเภอต้องใช้เงินการกุศลของอำเภอเพื่อสร้างห้องฟอกไต อบต.ก็ต้องใช้เงินส่วนอื่นสมทบ เพื่อแก้ปัญหานี้ งานนี้ พม.ต้องเข้ามาดูแลครับ ด้วยกฎระเบียบและแนวปฏิบัติที่มีอยู่ จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ ของสาธารณสุข กับ ท้องที่ ท้องถิ่น เท่านั้นไม่ได้แล้วครับเราต้องระดมสรรพกำลังเพื่อที่ “เราจะได้ผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน”

 

📍 www.indyreport.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *