ททท. แม่ฮ่องสอน ตอกย้ำความสุขหน้าฝนผ่าน งานดนตรีฤดูฝน “แม่ลาน้อย คราฟท์ แค้มป์“

#แม่ฮ่องสอน ช่วงฤดูฝน (Green Season ฤดูแห่งความชุ่มฉ่ำ บนความสุขของการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสความชุ่มฉ่ำของห้วงฤดูฝนแล้ว ธรรมชาติที่สวยงามสมคำร่ำลือตามชื่อ “เมืองหมอกสามฤดู” ของสายหมอกที่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ตัดกับธรรมชาติของภูเขาสีเขียวชอุ่ม เป็นภาพที่งดงามถึงขนาดคนแม่ฮ่องสอนเองยังบอกว่า “ฤดูฝน” คือ ช่วงเวลาที่สวยที่สุดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน นาขั้นบันได อำเภอแม่ลาน้อย ที่ผนวกกับดนตรี บนสไตล์แค้มป์ปิ้ง คือ ส่วนผสมที่ลงตัวของงานดนตรีฤดูฝน “แม่ลาน้อย คราฟท์ แค้มป์”

10 สิงหาคม 2567 ณ เฮินไต รีสอร์ท อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ททท. สำนักงานแม่ฮ่องสอน ร่วมกับ เฮินไต รีสอร์ท จัดกิจกรรมงานดนตรีฤดูฝน “แม่ลาน้อย คราฟท์ แค้มป์” โดยมีนายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมด้วย นายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายชลัช ดิสถาพร ผู้อำนวยการกองตลอดภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ว่าที่ ร้อยตรี ภาณุวัฒน์ ขัดนาค ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. สำนักงานแม่ฮ่องสอน คุณกรวิทย์ ช่วยดู ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแม่ฮ่องสอน ว่าที่ร้อยตรี วิทยา โปทาศรี นายอำเภอแม่ลาน้อย นายอาคม จำลองศักดิ์ นายกเทศมนตรีตำบลแม่ลาน้อย นายภานุเดช ไชยสกูล นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน และนายถิรมนัส วงศ์คีรี เจ้าของเฮินไต รีสอร์ท เข้าร่วมเป็นเกียรติในงานต้อนรับนักท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวอย่างอบอุ่นเป็นกันเอง

 

ซึ่งงานดังกล่าว ได้จัดขึ้นในรูปแบบงานดนตรีสไตล์แค้มป์ปิ้ง มีศิลปินทั้งจากวงดนตรีท้องถิ่นและศิลปินที่มีชื่อเสียง ได้แก่ วงสามหนุ่มบริการ ศิลปินวาทิน และศิลปินนรเทพ มาแสง (นอ วงพอส) สร้างความสุขผ่านบทเพลง ท่ามกลางบรรยากาศกลางทุ่งนาของอำเภอแม่ลาน้อย และนำแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วยการนำวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตกแต่ง อาทิ ถังขยะจากวัสดุรีไซเคิล เก้าอี้ไม้พาเลทจากไม้เหลือใช้ และนักท่องเที่ยวสามารถนำเก้าอี้แค้มป์มาตกแต่งเพื่อเพิ่มความสุขสไตล์แค้มป์ปิ้งในพื้นที่ของตนได้อย่างเสรี ทำให้ผู้เข้าร่วมงานมีความประทับใจเป็นอย่างมาก

ซึ่งผลการจัดกิจกรรมพบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 300 คน สามารถสร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวไม่น้อยกว่า 555,000 บาท และงานนี้ ทำให้อัตราเข้าจองห้องพัก (Occupancy Rate) ของอำเภอแม่ลาน้อย เต็มทุกแห่ง และอัตราเข้าจองห้องพัก (Occupancy Rate) ของอำเภอแม่สะเรียงมีอัตราเข้าจองห้องพัก (Occupancy Rate) สูงขึ้นมากกว่า 70%

…………………………………………….…….

www.indyreport.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *