อ.ส.ค.นำเสนอผลงานปิดโครงการ TPM และโครงการ 5ส. ของโรงงานนมทั้ง5 ภาค ของ อ.ส.ค. เผยความสำเร็จโครงมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม (Total Participation) ในการปรับปรุงงาน
ทั้งในส่วนการผลิตและหน่วยงานสนับสนุน
นายสมพร ศรีเมือง ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กล่าวว่า เพื่อให้บุคลากรขององค์กรเข้าใจในแนวทางปฏิบัติ และเห็นความสำคัญของระบบการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM :Total Productive Maintenance)
ที่จะช่วยเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในการทำงานให้สูงขึ้น โดยโครงการ TPM และโครงการ 5ส. ของ อ.ส.ค. ที่จัดขึ้นทั้ง 5 ภาค ประจำปีงบประมาณ 2566 ภายใต้โครงการพัฒนาระบบการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productivity) ในการทำงานให้สูงขึ้นอย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม (Total Participation) และประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness : OEE) อย่างเป็นระบบ สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน และได้นำระบบ 5ส. มาใช้ในการทำงานด้วย โดยมีตัวแทนพนักงาน อ.ส.ค. 5 ภาค และได้รับเกียรติจากนายวุฒิพงศ์ บุญนายวา ผู้จัดการส่วนบริหารการผลิต นายชาญชัย พรศิริรุ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มผลิตภาพ และคณะอาจารย์ที่ปรึกษา จากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ณ สำนักงาน อ.ส.ค.ภาคใต้ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ และแนวทางปฏิบัติของระบบการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) แก่พนักงานทั้งในส่วนการผลิต และหน่วยงานสนับสนุน เพื่อให้บุคลากรขององค์กรเข้าใจในแนวทางปฏิบัติ และเห็นความสำคัญของระบบ TPM ที่จะช่วยเพิ่มผลิตภาพ (Productivity)ในการทำงานให้สูงขึ้นอย่างเป็นระบบ และต้องการขยายผลการวางระบบการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) ทั้งในเรื่องเครื่องมือการดำเนินงานใหม่ (New Tools) และพื้นที่การดำเนินงานที่สอดคล้อง และเหมาะสมกับลักษณะการทำงานขององค์กร โดยมุ่งเน้นการการมีส่วนร่วม (Total Participation)ในการปรับปรุงงานของพนักงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการผลิตและหน่วยงานสนับสนุน
สำหรับสำนักงานอ.ส.ค.ภาคใต้ (จ.ประจวบคีรีขันธ์), สำนักงานอ.ส.ค.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น), สำนักงานอ.ส.ค.ภาคกลาง (จ.สระบุรี), สำนักงานอ.ส.ค.ภาคเหนือตอนบน (จ.เชียงใหม่) และสำนักงานอ.ส.ค.ภาคเหนือตอนล่าง (จ.สุโขทัย) ตลอดจนเพื่อให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness: OEE) และผลิตภาพ (Productivity) ในมิติที่สำคัญอย่างเป็นระบบ และวัดผลได้อย่างชัดเจน
…………………………………………………………………………………………………………