🔴 การจัดการสิ่งแวดล้อมของธุรกิจเหมืองแร่

ผู้เชี่ยวชาญแนะ 8 แนวทางบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมธุรกิจเหมืองแร่  ใช้เทคโนโลยีสีเขียวเน้นดูแลสุขภาพพนักงานและชุมชนรอบเหมือง เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้-เสียเข้ามีส่วนร่วม

         ศจ.ดร.ลาลิต จอรี่ ที่ปรึกษาอาวุโส สมาคมสินแร่และวัสดุก่อสร้าง  แสดงความเห็นว่าในสังคมสมัยใหม่ ธุรกิจเหมืองแร่ดำเนินการแปรรูปวัตถุดิบและแร่ต่างๆที่จําเป็นใช้ในงานของภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการก่อสร้าง โรงงานผลิตเหล็ก ปุ๋ย สารเคมีและอื่น ๆ  

         ขณะที่ธุรกิจเหมืองแร่และการสกัดแร่มีบทบาททางธุรกิจที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ  ขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในพื้นที่บริเวณรอบๆเหมือง  เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างครอบคลุมจึงได้นำเสนอ 8 ประเด็นสำคัญ เพื่อเป็นแนวทางให้บริษัทเหมืองแร่สามารถดำเนินการกำหนดนโยบายและปฏิบัติตามแผนงานต่างๆได้อย่างเหมาะสม ดังนี้

กรอบการจัดการสิ่งแวดล้อมของธุรกิจเหมืองแร่

         1.เทคโนโลยีสีเขียวหรือเทคโนโลยีที่เป็นมิตร : บริษัทเหมืองแร่ควรใช้เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์และกระบวนการผลิตที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

         2.ความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานและชุมชน :  เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงในการดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  บริษัทเหมืองแร่ควรมีประวัติของพนักงานลูกจ้างและชุมชนโดยรอบเหมืองที่ถูกต้อง  กระบวนในการทำงานควรคำนึงถึงหลักการความปลอดภัยเป็นอันดับแรก พนักงานลูกจ้างควรได้รับอุปกรณ์ในการทำงานและอุปกรณ์ป้องกันร่างกายอย่างเหมาะสม เช่น ถุงมือ รองเท้า อุปกรณ์ป้องกันหูจากเสียงรบกวน และหมวกกันกระแทก  บริษัทเหมืองแร่ควรเตรียมการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่พนักงานลูกจ้างและชุมชนโดยรอบเหมืองกรณีเกิดอุบัติเหตุในบริเวณเหมืองแร่อย่างเหมาะสมและเพียงพอ

         3.การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ: การทําเหมืองแร่อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายและการทําลายพืชและสัตว์ในบริเวณรอบๆเหมือง  ดังนั้นการวางแผนและการนำวิธีการตัดเหมืองที่เหมาะสมมาใช้จะทำให้บริษัทเหมืองแร่สามารถลดความเสียหายต่อชีวิตพืชและสัตว์ในบริเวณโดยรอบเหมืองได้  

         4.การอนุรักษ์ทรัพยากร: ควรบริหารจัดการกระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า น้ำมันดีเซล น้ำประปา วัตถุระเบิด และสารเคมีต่างๆ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นดาบสองคมเพราะหากบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ไม่เพียงช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทเหมืองแร่แล้วยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรด้วย

         5.การควบคุมมลพิษ: ควรใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อลดมลพิษทางเสียง  ฝุ่น การปล่อยก๊าซและอนุภาคต่าง ๆที่เป็นอันตราย มลพิษในแหล่งน้ำและดิน  

         6.การจัดการของเสีย: โดยธรรมชาติของการทําเหมืองจะผลิตวัสดุเหลือใช้หรือของเสียประมาณไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์  บริษัทเหมืองแร่จำนวนมากได้ดำเนินการแปรสภาพของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มซึ่งทำให้เกิดผลกําไรเพิ่มมากขึ้น และควรพยายามหาทางเลือกอื่นๆในการจัดการกับวัสดุเหลือใช้ เช่น ขายให้ธุรกิจก่อสร้าง  และควรจัดเก็บและขายขยะฮาร์ดแวร์ให้กับธุรกิจที่ดำเนินการรีไซเคิลโลหะและพลาสติกอย่างเหมาะสม

         7.การจัดการภัยพิบัติ:  แม้จะมีนโยบายและแผนการป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นทั้งจากสาเหตุที่เป็นภัยทางธรรมชาติหรืออาจเกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น

         8.กลยุทธ์การสื่อสาร: เพื่อสร้างให้เกิดการรับรู้และมีความสามารถขั้นสูงในการจัดการสิ่งแวดล้อม  เหมืองแร่ควรดำเนินกลยุทธ์แบบบูรณาการเพื่อสื่อสารนโยบายและแผนงานต่างๆให้กับพนักงานลูกจ้างและชุมชน  ซึ่งการดำเนินการในลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น

……………………………………….….….

📍www.indyreport.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *