🔴 “สัมมนา 44 ปี สัมพันธ์ไทย-จีน : โลกผันแปรแต่มิตรภาพยั่งยืน” ยืนยันความสัมพันธ์ของสองประเทศยังแนบแน่น

 

สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน ร่วมกับ สมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีน 44 สัมพันธ์ไทย-จีน โลกผันแปรแต่มิตรภาพยั่งยืน
 
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน ร่วมกับ สมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีน จัดงานสัมมนา 44 ปีความสัมพันธ์ไทย-จีน : โลกผันแปรแต่มิตรภาพยั่งยืน ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ นายชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน กล่าวรายงาน โดย นางหยาง หยาง ที่ปรึกษาฝ่ายการเมือง สถานเอกอัคราชทูตจีน ประจำประเทศไทย ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ “มองอนาคตความสัมพันธ์ไทย-จีน และความคาดหวังต่อบทบาทของสื่อจีนและไทย” 
 
สำหรับในช่วงเวทีอภิปราย “บทบาทสื่อในการการกระชับความสัมพันธ์ไทย-จีน” ได้รับเกียรติจาก นางสุมลพันธ์ โกศลสิริเศรษฐ์ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) นายก้าวโรจน์ สุตาภัคดี นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ดำเนินรายการโดย นายภูวนารถ ณ สงขลา อุปนายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน
และ เวทีอภิปราย “เศรษฐกิจไทย-จีน 44 ปี แห่งการเติบโต” ได้รับเกียรติจาก นายจักรินทร์ โกมลศิริ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นายประเสริฐศักดิ์ องค์วัฒนกุล ที่ปรึกษาอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน ดำเนินรายการโดย นายชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน  
 
นางหยาง หยาง กล่าวว่า “จีน-ไทยสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการมาเป็นระยะเวลาเพียง 44 ปี แต่มิตรภาพอันดีงามและการไปมาหาสู่กันของประชาชนทั้งสองประเทศนั้นสามารถย้อนกลับไปถึงสมัยฮั่นตะวันตกเมื่อ 2000 ปีก่อน “เรื่องราวที่มีความเป็นมายาวนาน” นั้น คือจุดเด่นที่สำคัญอย่างยิ่งของมิตรภาพจีน-ไทยและความสัมพันธ์จีน-ไทย “จีน-ไทยมิใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” ซึ่งพูดได้ว่าเรามีความแน่นแฟ้นกันในทุกๆ ด้าน ทั้งการเมือง การค้า เศรษฐกิจ 
 
จีน-ไทยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางการเมืองไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ผู้นำระดับสูงของทั้งสองประเทศไปมาหาสู่และรักษาการเชื่อมสัมพันธ์อย่างเสมอต้นเสมอปลาย นับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตมาเป็นเวลา 44 ปี ภายใต้การนำและเอาใจใส่ของผู้นำทุกสมัยของสองประเทศ ทำให้ประชาชนจีน-ไทยและเฝ้าสังเกตการณ์และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เชื่อมโยงถึงกันและกัน ร่วมก้าวข้ามความยากลำบากของการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ระหว่างประเทศ ผลักดันความสัมพันธ์จีน-ไทยให้รักษาการดำเนินงานในระดับสูงให้คงอยู่เสมอ ทุกวันนี้ ผู้นำจีนและไทยยังคงติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเหมือนเครือญาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศจีน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศจีนมากถึง 46 ครั้ง ทรงเป็นพระสหายต่างประเทศของประชาชนจีนที่รู้กันโดยทั่ว ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้พบปะกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยหลายต่อหลายครั้ง ในเดือนพฤษจิกายนที่จะถึงนี้ นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนได้เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ การนำและให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดด้วยตนเองของผู้นำทั้งสองประเทศได้วาดพิมพ์เขียวเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของความสัมพันธ์จีน-ไทย สัมพันธไมตรีระหว่างจีน-ไทยนั้นยิ่งนานยิ่งมีชีวิตชีวาและมีคุณค่าก็ด้วยเหตุผลนี้
 
จีน-ไทยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดด้านความร่วมมืออย่างลึกซึ้ง ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ อย่างมาก ไม่กี่ปีมานี้ ด้วยการปูพื้นฐานที่ครอบคลุมของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่จีน-ไทยสร้างสรรค์ร่วมกัน การดำเนินความร่วมมือให้บรรลุผลของทั้งสองประเทศปรากฏสภาพการณ์ที่น่ายินดี จีนเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของไทยติดต่อกันเป็นเวลา 6 ปีแล้ว ไทยก็เป็นคู่ค้าอันดับที่สามในอาเซียนของจีน จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมการลงทุนไทยหรือบีโอไอ พบว่า มูลค่าคำขอการลงทุนโดยตรงของจีนในไทยของปีที่แล้วมีมูลค่าประมาณ 55,480 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2 เท่าจากปี 2017 เติบโตอย่างรวดเร็ว จีนได้กลายเป็นแหล่งที่มาของการลงทุนที่ใหญ่เป็นอันดับสามของไทย ในขณะเดียวกัน สินค้าไทยกำลังเข้าสู่ตลาดจีนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้าว ยางพารา ทุเรียนและรังนกเป็นต้น ตามโครงการรถไฟจีน-ไทยดำเนินกันต่อไปและจีน-ไทยทั้งสองประเทศมีความร่วมมือใน EEC มากยิ่งขึ้น  ทั้งสองฝ่ายมีความร่วมซึ่งมีคุณภาพสูงในทางด้านโลจิสติก พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผลิตระดับสูง การอบรมบุคลกรเป็นต้น
วิสาหกิจด้านเทคโนโลยีชั้นสูงและวิสาหกิจด้านนวัตกรรมของจีน เช่น หัวเว่ย และอาลีบาบา เป็นต้น ได้เข้ามาพัฒนาตลาดในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อยๆ เศรษฐกิจจีน-ไทยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดด้านความร่วมมืออย่างลึกซึ้ง ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ อย่างมาก ไม่กี่ปีมานี้ ด้วยการปูพื้นฐานที่ครอบคลุมของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่จีน-ไทยสร้างสรรค์ร่วมกัน การดำเนินความร่วมมือให้บรรลุผลของทั้งสองประเทศปรากฏสภาพการณ์ที่น่ายินดี จีนเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของไทยติดต่อกันเป็นเวลา 6 ปีแล้ว ไทยก็เป็นคู่ค้าอันดับที่สามในอาเซียนของจีน จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมการลงทุนไทยหรือบีโอไอ พบว่า มูลค่าคำขอการลงทุนโดยตรงของจีนในไทยของปีที่แล้วมีมูลค่าประมาณ 55,480 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2 เท่าจากปี 2017 เติบโตอย่างรวดเร็ว จีนได้กลายเป็นแหล่งที่มาของการลงทุนที่ใหญ่เป็นอันดับสามของไทย ในขณะเดียวกัน สินค้าไทยกำลังเข้าสู่ตลาดจีนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้าว ยางพารา ทุเรียนและรังนกเป็นต้น ตามโครงการรถไฟจีน-ไทยดำเนินกันต่อไปและจีน-ไทยทั้งสองประเทศมีความร่วมมือใน EEC มากยิ่งขึ้น  ทั้งสองฝ่ายมีความร่วมซึ่งมีคุณภาพสูงในทางด้านโลจิสติก พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผลิตระดับสูง การอบรมบุคลกรเป็นต้น วิสาหกิจด้านเทคโนโลยีชั้นสูงและวิสาหกิจด้านนวัตกรรมของจีน เช่น หัวเว่ย และอาลีบาบา เป็นต้น ได้เข้ามาพัฒนาตลาดในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อยๆ เศรษฐกิจ” นางหยาง หยาง กล่าว
 
ด้าน นายชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวจีน-ไทย กล่าวถีงวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ “ทางสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน ร่วมกับ สมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีน จัดงานสัมมนาในหัวข้อ 44 ปีความสัมพันธ์ไทย-จีน : โลกผันแปรแต่มิตรภาพยั่งยืน ปีนี้เป็นปีที่ครบรอบ 44 ปีของความสัมพันธ์ไทยจีนด้านการทูต ก็อยากจะให้ความสำคัญกับการครบรอบดังกล่าว เพราะว่าถ้าย้อนกลับไปไทยจีนมีความสัมพันธ์กันมานับพันปีในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติหรือวัฒนธรรม ถ้าเป็นความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างรัฐบาลก็พึ่งจะมาสถาปนากันเมื่อปี 2518 ที่ผ่านมานี้เอง ในยุคของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช แต่ว่าต่อเนื่องมา 44 ปี หรือ 4 ทศวรรษที่ผ่านมาก็จะเห็นว่าไทย-จีนความสัมพันธ์เราไม่เคยแปรเปลี่ยน และนับวันก็จะแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เราวัดได้จากการเดินทางของประชาชนสองประเทศไปมาหาสู่กัน ล่าสุดปีนี้ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นคนจีนอาจจะมาเยือนประเทศไทยถึง 11 ล้านคน และถ้าเราวัดในด้านของตัวเลขการค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการค้าระหว่างกัน ปีที่แล้วประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท ภานใน 2-3 ปี ข้างหน้า ตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะเป็น 4.2 ล้านล้านบาท ก็จะเพิ่มขึ้นมาอีกเยอะยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีสูง การค้าทางด้านออนไลน์ก็จะทำให้การค้าขายระหว่างกันมากยิ่งขึ้น 
 
วันนี้เราได้เชิญที่ปรึกษาฝ่ายการเมืองของสถานทูตจีนท่านหยาง หยาง ก็มาปฐกถาพิเศษ ท่านก็ได้ชี้ให้เห็นโอกาสของสองประเทศไทย-จีน  ซึ่งก็น่าจะมองหาโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างความสัมพันธ์ โอกาสทางด้านเทคโนโลยี ทางด้าน AI ทางด้านวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม มาเป็นจุดที่เดี๋ยวนี้โลกปัจจุบันเขาพูดถึงกัน และนอกจากนั้นเรามีการอภิปรายในหัวข้อ บทบาทสื่อไทยจีนในการที่จะกระชับความสัมพันธ์ให้ดียิ่งขึ้น และมีการอภิปรายในหัวข้อเรื่องของเศรษฐกิจ ว่าจะเติบโตได้อีกขนาดไหนอย่างไร ซึ่งวิทยากรที่มาร่วมได้สะท้อนมุมมองมากมาย ซึ่งคิดว่าจะเป็นประโยชน์และจะทำให้ปีที่ 45 หรือต่อๆ ไป จนถึงเป็น 100 ปี ไทย-จีนมิตรภาพคงจะไม่มีความสั่นคลอน และก็มีแต่จะกระชับแนบแน่นยิ่งขึ้นไปครับ” นายชัยวัฒน์ กล่าว
📍www.indyreport.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *